ประวัติวัดสะพานศรี

ประวัติความเป็นมาของ “ไทยย้อ” นั้นไม่มีหลักฐานทางเอกสารยืนยันแน่นอนได้ จะสามารถแต่เพียงสอบถามจากปากคำผู้เฒ่าผู้แก่ มีอายุ จดจำเรื่องราวสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ โดยหลวงปู่เจ้าอาวาสรูปที่ 10 อายุ 92 ปี ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งเป็นสามเณรน้อยอายุ 11 ปี หลวงปู่องค์ก่อนเคยอ่านบันทึกตราสารอักษรลาวน้อยใบข่อยโบราณได้ความว่าครั้งแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๓) ปี พ.ศ. 2381 หลวงปู่สิทธิชัย นาโคได้ชักชวนลูกหลานอพยพครอบครัว เกวียน ม้า โค กระบือ ข้ามมาจากเมืองมหาชัยกองแก้วฝั่งซ้ายประเทศลาว มาถึงบริเวณปัจจุบันนี้ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่านานาชนิด พืชพันธ์ ป่าไม้เบญจพันธ์ อุดมสมบูรณ์ พร้อมซากอิฐ หิน เสมาหิน ต้นโพธิ์ ต้นไทรใหญ่ ท่านจึงกำหนดเขตสร้างวัด ตั้งหมู่บ้านขึ้นเมื่อวันอังคารขึ้น 13 ค่ำเดือน 5 ปี 2381

พระยาประจันตะประเทศธานี (ราชวงศ์ดำ) เจ้าเมืองสกลทวาปี มาตรวจภูมิประเทศหัวเมืองตะวันตก เห็นว่ามีชุมชนหนาแน่นมีพืชไร่อุดมสมบูรณ์ จึงกราบเรียนหลวงปู่สิทธิชัย นาโค วัดสะพาฯศรี ขออนุฐาตแต่งตั้งท้าวบุญ เป็นราชบุตรสกลทวาปี ชื่อพระศรีบุญญานุรักษ์ มีหน้าที่ช่วยราชวงศ์ ดูแลควบคุมการเก็บรักษาผลประโยชน์ของเมืองและเป็นผู้เก็บเงินส่วย ข้าวเม่า ข้าวเปลือก น้ำอ้อย ขี้ผึ้ง ผลิตผลการเกษตร ส่งเจ้าพนักงานใหญ่ในหัวเมืองเอก หรือเมืองหลวง และยกชุมชนนี้ขึ้นเป็นเมืองพานคำ โดยถือเอาบริเวณหนองน้ำใหญ่ มีสัตว์ป่าหลายชนิด อาศัยอยู่โดยเฉพาะอีเก้ง (พานด่อนมีมากที่สุด) หนองฟานด่อนนี้เปรียบเหมือนสายโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตชุมชนแถบนี้ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันโดยไม่เหือดแห้ง

พระศรีบุญญานุรักษ์ ได้ทนุบำรุงบูรณะสถูปเดิมที่มีก่อนอยู่แล้วให้สูงเพียงตาและได้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม สถาปนากำหนดเขควัดมีชื่อว่า “วัดสะพานศรี” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ดังหลักฐานศิลาจารึก และเสมาหินโบราณที่ขุดพบในบริเวณวัด แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า วัตถุของมีค่าดังกล่าว หลวงปู่เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 10 นั้น ได้นำบรรจุที่หลุมศิลาฤกษ์อุโบสถหลังปัจจุบัน เพราะความไม่รู้คุณค่าของโบราณวัตถุ


ลำดับเจ้าอาวาสวัดสะพานศรี

1. หลวงปู่สิทธุชัย นาโค พ.ศ. 2381 – 2431
2. พระอาจารย์สอน จกฺกธมฺโม พ.ศ. 2431 – 2457
3. พระอาจารย์พา นรินฺโท พ.ศ. 2457 – 2470
4. พระอาจารย์ผาย อธิปุญฺโญ พ.ศ. 2470 – 2484
5. เจ้าอธิการบัวไล คมฺคีโร พ.ศ. 2484 – 2492
6. พระอธิการเชย จนฺทปญฺโญ พ.ศ. 2492 – 2501
7. พระอธิการเหลื่อม ขนฺติโก พ.ศ. 2501 – 2506
8. พระอธิการฮู้ โชติปญฺโญ พ.ศ. 2506 – 2509
9. หลวงปู่ดำ อิทฺธิเตโช พ.ศ. 2509 – 2513
10. พระอธิการแดง พุทธสาโร พ.ศ. 2513 – 2529
11. พระครูพิพัฒน์สังฆคุณ (อนันต์ อานนฺโท) พ.ศ. 2529 – ปัจจุบัน


ลำดับผู้ปกครองชุมชนวัดสะพานศรี บ้านพาน, บ้านพานพัฒนา

1. ท้าวบุญ (จากเมืองมหาชัย) ได้รับแต่ตั้งบรรดาศักดิ์จากกรรมการเมืองเป็น “พระศรีบุญญานุรักษ์”
2. ท้าวเพี้ยแสง (หนองปลิง) ได้รับแต่ตั้งบรรดาศักดิ์จากกรรมการเมืองเป็น ”ท้าวโบราณวิเศษ”
3. ท้าวเพชร ได้รับแต่ตั้งบรรดาศักดิ์จากกรรมการเมืองเป็น “หลวงปากดี”
4. ท้าวเสน เจียงจาว
5. ท้าวด้วย เข็มใคร
6. ท้าวโม้ เกตุแก้ว
7. ผู้ใหญ่บุญมี เจินเทินบุญ
8. ผู้ใหญ่คูณ เจินเทินบุญ
9. ผู้ใหญ่สุข พานาคา
10. ผู้ใหญ่บง พอพระ
11. ผู้ใหญ่สวัสดิ์ ลุนราข
12. ผู้ใหญ่อ่อน พรหมหากุล
13. ผู้ใหญ่เดือน เข็มราช
14. ผู้ใหญ่เครือ ศิริชมพู
15. ผู้ใหญ่เฉลิมชัย คำศรี


จากการเล่าขานสืบต่อกันมาเมืองพานคำ ได้เจริญรุ่งเรืองมานานเท่าไหร่ ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอน ตาอาศัยลำดับผู้ปกครองชุมชน พอทราบได้ว่าประมาณปี 2405 ประวัติโรงเรียนบ้านพานสหราษฏร์บำรุง เป็นหลักฐานเมื่อปี 2488 ผู้ใหญ่ทิดบุญมี เจินเทินบุญได้เป็นผู้นำชาวบ้านพาน ถากลางบริเวณที่ตั้งโรงเรียน สร้างอาคารเรียนเสร็จแล้ว จึงย้ายจากวัดสะพานศรี มาอยู่ที่ปัจจุบันนี้

เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้นการดูแลสุขทุกข์ไม่ทั่วถึง ทางราชการจึงได้แบ่งเขตปกครองออกเป็น 2 หมู่ โดยถือเอาถนน สายสกลนคร – อุดรธานี เป็นการแบ่งเขตปกครองเพื่อสะดวกแก่การปกครอง และติดต่อราชการ โดยทิศใต้ ประมาณ 200 ครองครัวเป็นบ้านพานหมู่ 8 บ้านพานทิศเหนือประมาณ 140 ครองครัว เป็นบ้านพานพัฒนา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมาโดยสายเลือดวัฒนธรรมประเพณี ยังคงเดิมตั้งแต่อดีดจนถึงปัจจุบัน

ลำดับผู้ใหญ่บ้าน

1. ผู้ใหญ่เสถียร พันธ์ชัย 1 ก.ค. พ.ศ. 2528 – 2533
2. ผู้ใหญ่ทอ งอนลาด 13 ก.ค. พ.ศ. 2533 – 2537
3. ผู้ใหญ่สุริยะ มะโนมัย 28 ก.ค. พ.ศ. 2537 – ปัจจุบัน


โบราณวัตถุวัดสะพานศรี

วัดสะพานศรี มีโบราณวัตถุและของมีค่าที่สำคัญดังนี้

1. ศิลาจารึกความเป็นมาของวัดและชุมชนซึ่งบรรจุไว้ที่ฐานพระประธานในอุโบสถ
2. พระพุทธรูปโบราณเงินปางสดุ้งมารขุดพบจำนวน 78 องค์ที่กรุวัดสะพานศรี เมื่อปี พ.ศ. 2532 บรรจุที่พระศรีบุญญานุรักษ์
3. พระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศศรีลังกา โดยพระราชวิมลมุนีคณะสงฆ์จังหวัดสกลนคร อัญเชิญมาบรรจุที่พระธาตุศรีบุญญานุรักษ์
4. ตอต้นไม้ตะเคียนทอง อายุ 200 ปี เป็นต้นไม้ที่ใช้ทำกลองเพลของวัดแดนโมกษาวดี และกุฏิสงฆ์วัดสะพานศรี ขุดทำเรือแข่งประจำวัด
5. พระธาตุศรีบุญญานุรักษ์ ซึ่งเป็นเจดีย์สูง 19 เมตร ก่ออิฐถือปูนสร้างครอบวัตถุโบราณ วัตถุมงคล แก้วแหวน เงิน ทอง ของชุมชนเผ่าอ้อ ทั้งที่มีอยู่เดิมที่เจ้าอาวาสรักษาไว้และรับมอบมา และขุดพบในบริเวณวัด


ประวัติการทำปราสามผึ้งเผ่าย้อวัดสานศรี สกลนคร

การทำปราสามผึ้งส่วนมากในภาคอีสาน นิยมทำกันมาแต่โบราณโดยมีเหตุผล หรือคติว่า

1. เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
2. เพื่อตั้งความปรารถนาไว้ หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสามราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอให้มีปราสาทอันสวยงาม มีนางฟ้าแวดล้อมเป็นจำนวนมาก
3. เพื่อรวมพลังสามัคคีทำบุญทำกุศลร่วมกัน พบประสนทนากันฉันท์พี่น้อง
4. เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของเผ่าย้อ วัดสะพานศรีที่ปฏิบัติกันมาช้านานจนถึงปัจจุบันเพื่อส่งเสริมสนับสนุนงานบุญประเพณีปราสาทผึ้งของ จังหวัดสกลนคร เป็นที่เชิดชูเกียรติของชาวจังหวัดสกลนคร
5. เพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรม ทางบุญทางกุศลให้ปรากฏ
6. เพื่อร่วมรักษาวัฒนธรรมไทย


มูลเหตุแห่งการทำปราสาทผึ้งตามหลักฐานทางพระพุทธศาสนา

ปรากฏในหนังสือธรรมบทภาค 6 เรื่องยมกปาฏิหาริย์ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาปีที่ 7 บทสวรรค์ดาวดึงส์ชั้นที่ 2 ประทับที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ทรงแสดงอภิธรรมปิฏกโปรดพระพุทธมารดาจนได้ดวงตาเห็นธรรม ครั้งถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นมหาปวารณาออกพรรษา พระพุทธเจ้าตรัสอำลาพระอินทร์ เพื่อเสด็จลงสู่เมืองมนุษย์ พระอินทร์จึงเนรมิตบันได 3 ชนิดได้แก่

1. บันไดทองคำ อยู่เบื้องขวาเพื่อเทวดาลง
2. บันไดเงิน อยู่เบื้องซ้ายเพื่อมหาพรหมลง
3. บันไดแก้วมณี อยู่ตรงกลางเพื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลง

โดยบันไดทั้ง 3 ตั้งอยู่ที่ประตูเมืองสังกัสสนครถิ่นมนุษย์หัวบันไดตั้งอยู่ที่ยอดเขาเนรุราช บนสวรรค์ดาวดึงส์ ก่อนเสด็จลงพระพุทธเจ้าประทับยืนบนยอดเขา สิเนรุราช ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ โดยทรงแลดูเบื้องบน ปรากฏว่ามีเนินเป็นอันเดียวกับพรหมโลก ทรงแลดูข้างล่างก็ปรากฏมีเนินเป็นอันเดียวกัน ตอนนี้เองพวกเทวดา มนุษย์ พรหม ครุฑ สัตว์นรก ต่างมองเห็นกันเหมือนอยู่เฉพาะหน้า พระพุทธเจ้าทรงเปล่งรัศมีไปทุกหนทุกแห่ง ทั้งหมดเกิดจิตใจเลื่อมใสปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าหมดทุกตน

ครั้นแล้วพระพุทธเจ้า ก็เสด็จลงทางบันไดแก้วมณีตรงกลาง ท้าวมหาพรหมกั้นเศวตฉัตร ท้าวสยามถือพัดวีชนี พวกเทวดาลงบันไดทองคำเบื้องขาว มีนักฟ้อน นักดนตรีติดตามพวกมหาพรหม ลงบันไดเงินเบื้องซ้าย มีมาตุลีเทพบุตร ถือดอกไม้ของหอมติดตาม ครั้งเสด็จถึงประตูเมืองสังกัสสนคร ประทับพระบาทเบื้องขาวก่อนและเรียกสถานที่นี้ว่า “อจลเจดีย์สถาน” สืบมาประทับดูรอบทิศ ครั้งที่สอง พวกเทวดา นาค ครุฑ สัตว์นคร ต่างก็ชื่นชม ในพระบารมีของพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสในบุญกุศลอย่างยิ่ง

ตอนนี้เองจึงเกิดจินตนาการ มองเห็นปราสามวิมานสวยงามใคร่อยากไปอยู่จึงรู้ชัดว่าการที่จะไปอยู่ปราสามวิมานอันสวยงามนั้น จะต้องสร้างบุญกุศลประพฤติ ปฏิบัติอยู่ในหลักธรรมคำสอนรักษาศีล ทำบุญใส่บาตร ให้ทานสร้างปราสาทกองบุญขึ้น ในเมืองมนุษย์เสียก่อน จึงจะได้ไปจุติในเมืองสวรรค์ จากนั้น จึงพากันคิดสร้างสรรค์ ทำปราสามผึ้งให้มีรูปลักษณะคล้ายรูปปราสาท มีเสามีห้อง มีหน้าพรหม มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ บันไดมียอดมีบนฑปลวดลายวิจิตรสวยงามตามยุคตามสมัยสืบต่อกันมา จนถึงปัจจุบัน